Ethereum - บล็อกเชนที่สามารถโปรแกรมได้
บล็อกเชน Ethereum นั้นไม่เพียงแต่สามารถประมวลผลธุรกรรมได้เท่านั้น แต่ยังสามารถรันแอปพลิเคชันที่เรียกว่า สมาร์ทคอนแทรค (smart contract) จึงทำให้ Ethereum เป็นบล็อกเชนที่สามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งได้ ซึ่ง Ethereum นั้นมีลักษณะคล้าย Bitcoin แต่ก็เป็นมากกว่าแค่ที่จัดเก็บธุรกรรมของสกุล cryptocurrency Ethereum นั้นไม่ได้เป็นแค่เพียงโปรโตคอลสำหรับการทำธุรกรรม (transaction protocols) แต่ยังสามารถรันโปรแกรมและแอปพลิแคชันได้อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัตินี้ อาจนำไปสู่การปฏิวัติเลยก็ว่าได้ โปรแกรมที่เรียกว่าสมาร์ทคอนแทรคนี้ สามารถนำไปใช้งานภายในเครือข่ายบล็อกเชน โดยที่ผู้ใช้งาน (user) คนใดก็ได้สามารถดำเนินการภายในระบบ โดยจะเปลี่ยนแปลงตรรกะภายใน (internal logic) ไม่ได้อีกเลย อีกทั้งยังโปร่งใส ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถลบโปรแกรมเหล่านี้ได้ ซึ่งเราเรียกว่า decentralized apps หรือ dapps ผู้คนและองค์กรต่างๆ จะสามารถรับมือกับการใช้งาน ผ่าน Ethereum ซึ่งหากพวกเขาเข้าใจวิธีการใช้งานสมาร์ทคอนแทรคดีพอ เขาก็ไม่จำเป็นต้องไว้ใจบุคคลที่สาม หรือแม้แต่ไว้ใจกันเองอีกเลย เงื่อนไขและผลลัพธ์ของสมาร์ทคอนแทรคจะโปร่งใสกับทุกๆ คน เป็นข้อตกลงที่ยุติธรรมเลยทีเดียว
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ปราศจากศูนย์กลาง
Ethereum ไม่ใช่แค่ฐานข้อมูล (database) แต่เป็นคอมพิวเตอร์ ถือเป็นครั้งแรกที่มีวิธีการรักษาและจัดการข้อมูลทั้งไดนามิก ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์กันในเครือข่ายแบบ peer-to-peer ด้วยคุณสมบัติที่โปร่งใสและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทำให้มีไอเดียนวัตกรรมอีกมากมายที่สามารถนำ Ethereum นี้ไปใช้ได้
ในการนำ Ethereum มาใช้นั้น ผู้ใช้งานจะต้องมี wallet ซึ่งจะสามารถส่งและรับ Ether กระจายสมาร์ทคอนแทรคที่เขาสร้างไว้ในเครือข่าย และทำปฏิสัมพันธ์กับสมาร์ทคอนแทรคนั้น ในการเรียกใช้สมาร์ทคอนแทรคนั้น ผู้ใช้งานจะต้องทำปฏิกิริยากับสมาร์ทคอนแทรคให้รันฟังก์ชัน โดยการทำธุรกรรมไปที่คอนแทรค ซึ่งเหมือนกับผู้ใช้งานทุกรายมี address ของตัวเอง แล้วมองสมาร์ทคอนแทรคเป็นเหมือนกับผู้ใช้งานอีกรายหนึ่งที่มี wallet ที่ทำการรับและส่งเหรียญตามที่กฎกติกากำหนดไว้ สมาร์ทคอนแทรคจะทำตามที่โปรแกรมสั่งให้ทำเท่านั้น ต่างจากผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งทุกคนสามารถอ่านเงื่อนไขนี้ได้
ลองจินตนาการสมาร์ทคอนแทรคที่ธรรมดามาก ที่มีไว้สำหรับการบริจาคเงินเพื่อการกุศล ผู้ใช้งานทุกรายสามารถส่ง ETH ไปที่สมาร์ทคอนแทรคได้โดยจะเก็บจำนวน ETH ที่ถูกส่งมา เมื่อถึงยอดจำนวนหนึ่ง จะทำการส่ง ETH ทั้งหมดไปยัง Ethereum address เช่น สภากาชาด หรือ Red Cross เมื่อผู้ใช้งานทำการเรียกสมาร์ทคอนแทรคนี้ (โดยการทำธุรกรรมที่ใช้ adress ของสมาร์ทคอนแทรคเป็นผู้รับ) เขาจะต้องใส่ ETH เพิ่มเติมนิดหน่อยเพื่อเป็นเสมือน “ค่าน้ำมัน” โดยที่จำนวนนี้เองจะไว้สำหรับการกระจายข้อมูลธุรกรรมไปยังเครือข่าย และไว้จัดเก็บรวมเป็นบล็อกเพื่อสำหรับการ verify โดยนักขุด ซึ่ง block นี้คือธุรกรรมที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีจำนวนมากกว่าที่กำหนดไว้แล้ว โดยที่สมาร์ทคอนแทรคจะต้องจัดเก็บ ETH เพิ่มเติมเพื่อที่จะทำธุรกรรมต่อได้ อย่างเช่น ในการที่จะส่ง 1 ETH ให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ผู้บริจาคจะต้องเพิ่มจำนวนค่าน้ำมันเข้าไป เป็น 1.00002 ETH ซึ่งในความเป็นจริงก็หมายถึงค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน ETH โดยที่หากผู้บริจาคส่งแค่ 1 ETH ในขณะที่ขั้นต่ำของการบริจาคคือ 1 ETH เขาก็จะได้รับเงินของเขาคืน หักลบกับค่าน้ำมันที่เขาก็ยังต้องเสียเพื่อที่จะดำเนินธุรกรรมนั้น Ethereum เปิดเผยว่าไม่เพียงแต่สกุลเงินเท่านั้นที่จะสามารถใช้งานได้ในบล็อกเชน ด้วยสมาร์ทคอนแทรค จะทำให้คนสองคน หรือรวมไปถึงกลุ่มคนจำนวนมาก สามารถจัดการเงิน เอกสาร สมาชิกของกลุ่ม หรือติดตามการเป็นเจ้าของของทรัพย์สินได้ นอกจากนี้ เขายังสามารถตกลงด้านการกระทำและกฎเกณฑ์ที่ส่งผลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอัตโนมัติอย่างปลอดภัย โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความไว้วางใจเลย
บริการทางการเงิน
อุตสาหกรรมนี้มีอนาคตที่ถูก disrupt ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยเฉพาะในกระบวนการหักบัญชีเมื่อโอนเงินระหว่างสองธนาคาร จะทำให้กระบวนการง่ายและรวดเร็วขึ้นอย่างมหาศาล โดยปกติ ธนาคารจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการดำเนินการจนกว่าเงินจะไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศ หรือจากต่างประเทศ โดยปกติ ธนาคาร A จะรวบรวมคำร้องขอโอนเพื่อที่จะไปยังจุดหมายปลายทาง (ธนาคาร B, ธนาคาร C) และจะส่งจำนวนที่มัดรวมกันไปยังปลายทางหลายครั้งต่อวัน ในระหว่างทาง ธนาคารเหล่านี้จะหักเงินจากบัญชีที่ดำเนินการผ่านสถาบันกลางหรือสำนักหักบัญชี (clearing house) ซึ่งการโอนระหว่างประเทศจะใช้เวลาหลายวัน แต่บล็อกเชนสามารถย่นระยะเวลาในกระบวนการนี้ได้อย่างมหาศาล การโอนสามารถจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที หรือไม่เกินหนึ่งวัน ขึ้นอยู่กับชนิดของบล็อกเชนที่ใช้ ยิ่งไปกว่านั้น จะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโอนจากการหักบัญชีอีกต่อไป บล็อกเชนที่ชื่อ Ripple นั้นเกิดขึ้นมาเพื่ออุดรอยรั่วนี้โดยเฉพาะ
อีกกรณีการใช้งานในด้านบริการการเงิน ได้แก่ การจำนอง ซึ่งสามารถจัดการด้วยสมาร์ทคอนแทรค โดยจะบันทึกเงินผ่อนที่เข้ามาโดยอัตโนมัติ และเมื่อผ่อนชำระครบแล้ว ระบบจะลบการจำนองออกจากทะเบียนที่ดินในรูปแบบดิจิทัล หากผ่อนเงินไม่ครบตามจำนวนหลังจากพ้นระยะเวลาหนึ่ง สมาร์ทคอนแทรคก็จะสามารถบังคับขายที่ได้ทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้าจัดการทำด้วยตนเอง คุณพอจะเห็นจำนวนเงินที่ประหยัดลงอย่างมหาศาลแล้วหรือยัง?
ในไม่ช้านี้ คุณกำลังจะพบกับคลื่นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นลูกใหม่ที่มีทั้งศักยภาพและความสำคัญ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบกับการเติบโตของอินเทอร์เน็ตในยุค 90’s แน่นอนว่าคงต้องใช้เวลาในช่วงหนึ่งเพื่อที่จะนำเทคโนโลยีที่มีประโยชน์เหล่านี้มาใช้อย่างเต็มศักยภาพ ปัญหามากมายอาจเกิดขึ้นในช่วงวิวัฒนาการของ Ethereum และบล็อกเชนอื่นๆ เช่นเดียวกับภาคธนาคาร บริษัทประกัน บริษัทเทคโนโลยี รัฐบาล และ SME ที่พยายามปรับตัวเข้ากับคลื่นเทคโนโลยีลูกนี้ ซึ่งแม้จะยังไม่เห็นว่าใครจะชนะหรือแพ้จากการแข่งขันในเชิงเทคโนโลยีนี้ แต่ผมสามารถรับประกันได้เลยว่าเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และวิธีการแก้ปัญหาที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก รวมไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างที่เราอาจไม่ได้คาดคิดมาก่อน
Comments