top of page

การเติบโตของฟินเทค


การเติบโตของฟินเทค

ฟินเทค คือคำนิยามที่ให้แก่บริการทางการเงินที่อาศัยเทคโนโลยี หลายครั้งมักเกิดจากนวัตกรรมสำคัญที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิมๆ นักสร้างธุรกิจที่ผ่านมาได้ใช้เทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงเกือบทุกอุตสาหกรรมหลักแล้ว โดยส่วนมากก็เพื่อสร้างประโยชน์แก่ผู้บริโภค แต่ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมการเงินเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก วิธีการทำงานแบบเดิมๆได้ฝังลงรากลึก ส่วนเรื่องเงินและผลประโยชน์จำนวนมากของทางภาคอุตสาหกรรมนี้ มันก็ทำให้คนที่ทำงานอยู่ในองค์กรมีความต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงสูงมาก การเข้ามาของบริษัทฟินเทคเองที่ผ่านมาก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า ทำให้เกิดความไม่พอใจแก่ลูกค้าทั้งหลายที่รู้สึกว่ากำลังถูกธนาคารเอาเปรียบ ถึงอย่างนั้น กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินดั้งเดิมก็เริ่มตระหนักถึงปัญหานี้แล้ว ในปีที่แล้วมีการลงทุนในบริษัทฟินเทคจากทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเป็น 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการลงทุนทั้งหมด 730 ครั้ง ซึ่งเติบโตถึง 201% ในปี 2013 เมื่อเทียบกับการเติบโต 63% ของการระดมทุนทั้งหมด ช่องว่างในตลาดที่สร้างโอกาสให้แก่เหล่านักพัฒนาฟินเทคก็เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มกฏระเบียบที่มากมายหลังจากประสบวิกฤตการเงินได้เบนความสนใจของเหล่าธนาคาร เพราะธนาคารต้องพบเจอกับปัญหาอย่างไม่หยุดหย่อนที่จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับจำนวนมหาศาล


การลงทุนด้านฟินเทคได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในหลายด้าน เพราะที่ผ่านมานักพัฒนาได้สร้างเทคโนโลยีใหม่สู่ตลาดในทุกๆด้าน โดยเฉพาะผู้ให้บริการด้านการชำระเงินก็เริ่มได้รับการลงทุนมหาศาลที่มากถึง 29% ของมูลค่าการระดมทุนทั้งหมดในปี 2014 ฟินเทคเริ่มที่จะเปลี่ยนวิถีของการทำธุรกรรมทางการเงินไปตลอดกาล ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจเห็นเงินที่เปลี่ยนจากกระดาษและพลาสติกในปัจจุบันกลายเป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ก็เป็นได้ เพราะเช่นนี้เอง ทำให้ธนาคารและตัวกลางสูญเสียรายได้หลักของพวกเขา เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าบริหารบัญชี


ธุรกิจทั้งหลายควรติดตามทิศทางของอนาคตอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเสี่ยงที่จะตามหลังคู่แข่งรายอื่นและสูญเสียความได้เปรียบทางธุรกิจ พวกเขาต้องคอยเฝ้าดูผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงแค่นวัตกรรมในการชำระเงินที่ลดรายจ่าย แต่ยังรวมถึงบริการการกู้ยืมอีกด้วย ส่วน Crowdfunding ก็ถูกคาดการณ์ว่าจะสามารถระดมทุนในโปรเจ็คต่างๆ ได้มากกว่ากลุ่มทุน Venture Capital จากข้อมูลปี 2016 โดยที่การกู้ยืมระหว่างบุคคล หรือ P2P lending ก็เริ่มที่จะเติบโต นั่นหมายความว่าองค์กรทั้งหลายต้องพิจารณาวิธีการการระดมทุนของตัวเองอีกครั้ง


ในขณะที่ฟินเทคเองก็มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่การมองข้ามธนาคารก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ฟิคเทคส่วนมากจะทำให้ธนาคารสามารถทำตามกฎระเบียบได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม ทำให้พวกเขาสามารถโฟกัสในเรื่องอื่นๆ ด้วยเงินทุนจำนวนมากที่พวกเขามี ทำให้ธนาคารสามารถนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ไม่สามารถต่อกรได้กับ Uber ในขณะเดียวกัน อำนาจในการลอบบี้ของพวกธนาคารก็จะทำให้บริษัทหน้าใหม่ที่เข้าตลาดต้องปวดหัวกับปัญหาจากกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมายอย่างที่พวกเขาได้เจอมา




bottom of page