top of page

ประเทศไทยจะเป็นฮับของฟินเทคได้หรือเปล่า?


ประเทศไทยจะเป็นฮับของฟินเทคได้หรือเปล่า?


ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีและกฎเกณฑ์ใหม่ๆ กำลังรอคอยที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ระบบการเงิน ซึ่งจำนวนของเทคโนโลยีการเงินนั้นมีมากจนทำให้เกิดการรวมของคำทั้งสองเป็นคำว่า “ฟินเทค” และทำให้คำว่า “สถาบันการเงิน” ไม่ได้หมายถึงธุรกิจอายุหลายศตวรรษและไม่ชอบเทคโนโลยีตามเดิมอีกต่อไป แต่กลับสื่อถึงสตาร์ทอัพจำนวนมากและการร่วมมือกันของบริษัทต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิกโฉมหน้าระบบการธนาคารและการลงทุนอย่างก้าวกระโดด


รายงาน Fintech 2017 ของ EY มีการกล่าวถึงข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญของฟินเทคอยู่มาก หนึ่งในเทรนด์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคืออัตราการใช้งานของผลิตภัณฑ์ฟินเทคจากทั่วโลก ไม่น่าแปลกใจเลยที่อันดับหนึ่งและสองจะตกเป็นของประเทศจีน และประเทศอินเดียที่ร้อยละ 69 และ 52 ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขนี้เป็นผลจากการทำธุรกรรมทางกางเงินจำนวนมหาศาลผ่านโทรศัพท์ในสองประเทศนี้ ทางฝั่งอังกฤษ เยอรมนี และสเปน ต่างก็มีอัตราใช้งานที่สูงกว่าร้อยละ 33 ส่วนในทางทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานั้นยังคงห่างออกไปอยู่ทางด้านล่างของตารางการจัดอันดับ


ถึงกระนั้น ผมยังคิดว่าฟินเทคในประเทศไทยกำลังบูมอยู่ เห็นได้จากล่าสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ธนาคารในประเทศสามารถจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อจัดการเงิน Cryptocurrency ได้ ก็ถือเป็นสัญญาณขาขึ้นที่สดใสของฟินเทคในไทย โดยเฉพาะการอนุญาตให้ธนาคารไทยสามารถออกเหรียญดิจิทัล ให้บริการโบรเกอร์ซื้อขายเหรียญคริปโต ดำเนินธุรกิจด้านคริปโต และลงทุนใน Cryptocurrency ผ่านบริษัทลูกได้ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพิ่งออกใบอนุญาตของตลาดซื้อขาย Cryptocurrency และใบอนุญาตของผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal)


ทั้งหมดนี้เป็นพัฒนาการทางฟินเทคครั้งยิ่งใหญ่ของไทย ที่กำลังพยายามจะทำให้ Cryptocurrency ถูกกฎหมาย และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่สามารถลงทุนได้ ก่อนหน้านี้สถาบันการเงินของไทยโดยปกติจะค่อนข้างกังวลในเรื่องของเทคโนโลยีมาก แต่ด้วยท่าทีใหม่นี้ กลุ่มสถาบันการลงทุน เช่น ธนาคารขนาดใหญ่ กองทุน บริษัทจัดการทรัพย์สิน ฯลฯ จะสามารถทดลอง และกระจายการลงทุนไปสู่ตลาด Cryptocurrency อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ตอนนี้สถาบันการเงินไม่จำเป็นที่จะต้องแข่งขันกัน แต่เพียงสานต่อสิ่งที่สตาร์ทอัพ Cryptocurrency ในไทยได้สร้างไว้เท่านั้น


ประเทศไทยเองเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการเป็นผู้นำด้านฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนฟินเทคของไทยคือการผสานกันระหว่างปัจจัยทางกฎข้อบังคับ เศรษฐกิจ และสังคม เพราะประชากรมีความเข้าใจเทคโนโลยีเป็นอย่างดี เรามีตลาดที่ยอดเยี่ยม และมีกฎเกณฑ์ที่เปิดโอกาสให้กับธุรกิจหน้าใหม่ โดยมีอุปสรรคที่กีดขวางหลงเหลืออยู่ไม่มาก แต่นักสร้างนวัตกรรมในไทยยังคงต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลให้ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ยอมรับในนวัตกรรม ใช้งานผลิตภัณฑ์ แบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน และเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงคนเก่งๆ มุมมองของคนในอุตสาหกรรมนี้อาจยังไม่รู้สึกว่าฝั่งการเมืองให้การสนับสนุนที่มากพอ


การแฮ็คธนาคารที่ใหญ่ที่สุดสองธนาคารของไทยเมื่อไม่นานมานี้ ส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามากถึง 120,000 ราย ทำให้บริษัทด้านการเงิน และบริษัทเทคโนโลยี ต้องริเริ่มหาวิธีการและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อปกป้องข้อมูลลูกค้าของพวกเขา และเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงอย่างบล็อกเชน ก็เป็นคำตอบที่เหมาะสมในการแก้ปัญหานี้


ประเทศไทยกำลังเดินบนเส้นทางสู่การปฎิวัติระบบการเงินในเวลาที่เหมาะสม การที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบของการถือครองสินทรัพย์ ข้อมูลของเรา วิธีการตัดสินใจของเรา และอื่นๆอีกมากมาย ในโลกที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น จะทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นฮับของฟินเทคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในอนาคต และเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ตใน 20 ปีที่แล้ว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างมหาศาล

Comments


bottom of page